วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

3st learning record
Monday 26th August 2019
🍇The Knowledge Gained🍇


      🍔วันนี้เป็นครั้งที่3ของการเรียนวิชานี้ ครั้งที่แล้วอาจารย์แจกสมุดลายเส้นให้ไปคัด ก-ฮ มาส่งในอาทิตย์นี้ หัวกลมตัวเหลี่ยม ตัวบรรจงเต็มบรรทัด


       🍔หลังจากนั้นอาจารย์ให้โหลดแอพ Padlet และสแกนคิวอาร์โค้ด เข้าไปโพสต์รูปสมาชิกกลุ่ม


         🍔สมาชิกกลุ่มของดิฉันมีดังนี้
             นางสาววัชรา ค้าสุกร เลขที่2
             นางสาวเพ็ญประภา บุญมา เลขที่3
             นางสาวอรอุมา ศรีท้วม เลขที่15
             นางสาวสุจินนา พาพันธ์ เลขที่20
             นางสาวปวีณา พันธุ์กุล เลขที่24
         🍔อาจารย์ให้แต่ละเลือกเรื่องที่จะสอนมา 1 หน่วย โดยหลักการในการเลือกต้องวิเคราะห์จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 ในคุณลักษณะอันพึงประสงค์
         🍔สาระที่ควรเรียนรู้ 4 สาระ คือ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
         🍔กลุ่มของดิฉันได้หัวข้อ "ธรรมชาติรอบตัว" หน่วยช.ช้างวิ่งหนี


ภาพบรรยากาศขณะทำกิจกรรม


ภาพบรรยากาศขณะทำกิจกรรม


ภาพบรรยากาศขณะทำกิจกรรม


ภาพบรรยากาศขณะทำกิจกรรม
      🍔หลังจากที่แต่ละกลุ่มทำเสร็จแล้วได้นำไปติดไว้หลังห้องและนำเสนอทีละกลุ่ม 


กลุ่มที่1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
หน่วย สุขภาพดีเริ่มต้นที่ตัวหนู


กลุ่มที่2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
หน่วย ชุมชนของเราน่าอยู่


กลุ่มที่3 ธรรมชาติรอบตัว
หน่วย ช.ช้างวิ่งหนี


กลุ่มที่4 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
หน่วย วันลอยกระทง


กลุ่มที่5 ธรรมชาติรอบตัว
หน่วย นำ้ดีมีประโยชน์

       🍔คุณลักษณะอันพึงประสงค์ช่วยในการออกแบบการจัดประสบการณ์ให้ง่ายขึ้น เพราะมีแนวทาง เป้าหมาย และที่สำคัญต้องมีการประเมิน จะประเมินได้ง่ายเด็กจะต้องมีลักษณะที่แสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อสังเกตและเก็บข้อมูล
       🍔สิ่งที่กลุ่มดิฉันต้องเเก้ไขคือ เพิ่มหัวข้อสายพันธุ์ และนำหัวข้อที่อยู่และการดูแลนำมารวมกัน


        🍔หลักจากนั้นให้กลับไปวางแผนว่า ใครจะสอนหัวข้ออะไร และนำมาเขียนแผนผังแยกออกมาเป็น 6กิจกรรมว่าจะสอนอะไร และแทรกประสบการณ์สำคัญ


⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻
🍇Evaluate-Self🍇 ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และมีความตั้งใจ
🍇Evaluate-Teacher🍇 อธิบายชัดเจน ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์
🍇Evaluate-Friend🍇 ตั้งใจ ช่วยกันทำงานจนเสร็จ

🍔🍕🍔🍕🍔🍕🍔🍕🍔🍕🍔🍕🍔🍕🍔🍕🍔🍕🍔🍕🍔
2st learning record
Monday 19th August 2019
🍉The Knowledge Gained🍉


     🍟อาจารย์แจกสมุดลายเส้นให้นักศึกษาคนละ 1 เล่มเพื่อไปคัด ก-ฮ หัวกลมตัวเหลี่ยมมาส่งอาทิตย์หน้า ให้สวยงามตัวเต็มบรรทัด


      🍟พัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงลักษณะและพฤติกรรมที่มีทิศทางและรูปแบบที่แน่นอน จากช่วงระยะเวลาหนึ่งไปสู่อีระยะหนึ่ง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ จนสู่วุฒิภาวะ ซึ่งก็คือ การบรรลุถึงขั้นการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ของบุคคลในระยะใดระยะหนึ่ง และพร้อมที่จะทำกิจกรรมอย่างนั้น
      🍟ในสาระที่จะจัดในการเรียนการสอนจะต้องมีองค์ประกอบที่สอดคล้องกับพัฒนาการ เพราะพัฒนาการจะบอกได้ว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง
      🍟ความสำคัญของพัฒนาการ คือ ให้เด็กมีประสบการณ์โดยการให้เด็กลงมือทำ ดังนี้
  ประสบการณ์สำคัญ(การเล่น)
การทำงานของสมอง
(เกิดการซึมซับ Assimilation อยู่ในทฤษฎีของเพียเจย์)
เป็นความรู้ใหม่(Accommodation)
มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
      🍟การจัดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับการเล่น(วิธีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้


🍟ทฤษฎีของเพียเจย์
ลักพัฒนาการตามแนวคิด
       🍟เพียเจต์ ให้ชื่อการพัฒนาการของเด็กวัยรุ่นหรือวัยมัธยมศึกษาว่า Formal Operation สามารถคิดได้แบบผู้ใหญ่ คือ
       -คิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้         
       -มีความสนใจในปรัชญาชีวิต ศาสนา อาชีพ
       -สามารถใช้เหตุผลเป็นหลักในการตัดสินใจ
       -สามารถคิดเหตุผลได้ทั้งอนุมานและอุปมาน
       -มีหลักการในการให้เหตุผลของตนเอง เกี่ยวกับความยุติธรรม เสมอภาคและมีมนุษยธรรม
🍟ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ 
       🍟พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
         1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
         2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2ขั้น คือ
           - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thoughtเป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
           - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thoughtเป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
         3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
         4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
      🍟พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่ 
         1.ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute
Differencesเด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น 
         2.ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Oppositionขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่ 
         3.ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degreeเด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย 
         4.ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variationเด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้ 
         5.ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Functionในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง 
         6.ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensationเด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน
       🍟กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
         1.การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilationเป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
         2.การปรับและจัดระบบ (accommodationคือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็น ระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
         3.การเกิดความสมดุล (equilibration)
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล


🍉Evaluate-Self🍉 ตั้งใจฟังและตอบคำถาม
🍉Evaluate-Teacher🍉 อธิบายชัดเจน เป็นกันเอง
🍉Evaluate-Friend🍉 ตั้งใจ ให้ความร่วมมือ

🐰🐸🐰🐸🐰🐸🐰🐸🐰🐸🐰🐸🐰🐸🐰🐸🐰
    

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562

🐠Video development of natural language teaching🐠


  🍇concluded🍇 การสอนแบบภาษาธรรมชาติ(Whole Language)เป็นแนวการสอนแบบสอนภาษาโดยองค์รวมทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งเกิดจากหลักการและแนวคิดของนักการศึกษาและนักวิจัยทางภาษา ไม่ว่าจะเป็น ดิวอี้,เปียเจต์,ไวก๊อตสกี้ ฯลฯ ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาการคิดและภาษาของเด็กปฐมวัยในทางด้านสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและเด็กปฐมวัย ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ตอบสนองธรรมชาติ และเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย เมื่อนำหลักการเหล่านี้มาเป็นแนวคิดในการปรับเปลี่ยนการสอนภาษาจะทำให้เด็กเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ภาษาได้ดีขึ้น
                โรงเรียนประถมเคเดิลในสวอนซี เป็นโรงเรียนนำร่องทดลองใช้หลักสูตรใหม่ระดับปฐมวัย โดยการส่งเสริมทักษะทางภาษาและการเรียนรู้ระดับอนุบาล ครูในโรงเรียนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางการฟัง พูด อ่าน เขียน ด้วยวิธีการเรียนรู้ผ่านการเล่นให้เด็กได้ลงมือทำ เช่น ในบทเรียนจะเป็นการเรียนรู้สิ่งต่างๆรองตัว ให้เด็กอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เล่าเหตุการณ์เด็กจะได้ทักษะด้านการพูด ให้ครูเล่านิทานในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเด็กจะได้ทักษะด้านการฟัง เป็นต้น

1st learning record
Monday 5th August 2019
🌲The Knowledge Gained🌲


   
    🌰วันนี้เป็นวันเปิดเรียนวันแรกของปีการศึกษา 2562 ในวิชานี้เป็นการเรียนรวมกันทั้งสองเซค อาจารย์ได้อธิบายการเรียนของวิชานี้ว่ามีเรียนอะไรบ้าง และเริ่มสั่งงานเป็นบางส่วน
    🌰หลังจากอธิบายรายวิชาเรียบร้อยแล้ว ก็มีการพูดคุยในช่วงปิดเทอมทำอะไรกันมาบ้าง
    🌰อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเขียนรายชื่อโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่ามีใครบ้าง
    🌰อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 5 คนในแต่ละเซค และให้ไปศึกษาแผ่นการสอนของพี่ปี 5 ของแต่ละโรงเรียนเพื่อนำมาเป็นตัวอย่าง
    🌰และสุดท้ายอาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปค้นหาวิดีโอ สื่อ เทคนิคการสอนภาษาธรรมชาติคนละ 1 คลิป
⸺⸻⸻⸺⸺⸺⸺
🌲Evaluate-self🌲 ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและสั่งงาน มีคุยบ้างแต่ก็กลับมาฟัง
🌲Evaluate-teacher🌲 อธิบายชัดเจน และเป็นกันเอง
🌲Evaluate-friend🌲 ตั้งใจฟัง คุยเสียงดังเป็นบางครั้ง

🐻🐼🐻🐼🐻🐼🐻🐼🐻🐼🐻🐼🐻🐼🐻