วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

8st learning record
Monday 7th October 2019
☕The Knowledge Gained☕
        🐣วันนี้เรียนรวมกันทั้ง 2 เซคเนื่องจากอาจารย์มีประชุมตอนบ่าย อาจารย์สอนเรื่อง รูปแบบการสอน โดยอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มละ 5 คน โดยใช้รูปแบบการสอนโปรเจกต์
      🐣อาจารย์แจกกระดาษและให้เริ่มทำตามขั้นตอน ดังนี้


ขั้นที่1 หาลื่อกันว่า "อยากเรียนรู้เรื่องอะไร" โดยต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในห้องเรียน
สรุปออกมาแล้วว่าอยากเรียนรู้เรื่อง "รองเท้า"


ขั้นที่2 ถามประสบการณ์เดิมของเด็กแต่ละคนเกี่ยวกับเรื่อง "รองเท้า"


ขั้นที่3 ให้เด็กวาดรูปประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่อง "รองเท้า"


ขั้นที่4 ถามคำถามที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่อง "รองเท้า"


ขั้นที่5 หาคำตอบของคำถามเรื่อง "รองเท้า" ด้วยวิธีการ.....
🐣หลังจากนั้นให้คิดรูปแบบนำเสนอด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้


ยี่ห้อของ "รองเท้า"


สีของ  "รองเท้า"


ไซต์ของ  "รองเท้า"


 "รองเท้า" ทำมาจาก


 "รองเท้า" หาซื้อได้ที่




🐣ภาพบรรยากาศขณะทำกิจกรรม🐣
     🐣หลังจากเขียนตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษานำใบงานมาแปะที่กระดาษแผ่นใหญ่ โดยแยกเป็นทั้งหมด 3 ระยะ ดังนี้
          ระยะที่1 เรื่องที่เด็กอยากรู้ ประสบการณ์เดิม คำถามที่เด็กอยากรู้
          ระยะที่2 หาคำตอบของคำถาม และเทคนิคนำเสนอคำตอบ
          ระยะที่3 จัดนิทรรศการ และสารนิทัศน์









🐣ผลงานทั้งหมดของแต่ละกลุ่ม🐣
🐣หลังจากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ ดังนี้


โปงเจกต์เรื่อง แอร์


โปรเจกต์เรื่อง ดินสอ


โปรเจกต์เรื่อง กระดาษ


โปรเจกต์เรื่อง กระดุม


โปรเจกต์เรื่อง ดินสอ


โปรเจกต์เรื่อง กระเป๋า


โปรเจกต์เรื่อง รองเท้า


โปรเจกต์เรื่อง กระเป๋า
⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻
☕Evaluate-Self☕  ตั้งใจทำกิจกรรม สนุกและเข้าใจกับเนื้อหา
☕Evaluate-Teacher☕ ให้คำแนะนำที่ดี ช่วยพุดเสริมให้เข้าใจมากขึ้น
☕Evaluate-Friend☕ ให้ความร่วมมือ มีนำ้ใจแบ่งปันสิ่งของ
🌻🌞🌻🌞🌻🌞🌻🌞🌻🌞🌻🌞🌻🌞🌻🌞🌻🌞🌻🌞🌻

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562

7st learning record
Monday 23rd September 2019
🍇The Knowledge Gained🍇
    🍊วันนี้เป็นวันเรียนชดเชยวันที่12 สิงหาคม ในอาทิตย์สอบกลางภาค ในวันนี้เป็นการเรียนรวมกันทั้ง 2 เซค และอาจารย์ก็ให้นักศึกษานำเสนอรูปแบบการสอนต่อจากครั้งที่แล้ว ดังนี้


     🍊กลุ่มที่1 เซค101 รูปแบบการสอนEF มีอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ดังนี้


           หลอด ดินนำ้มัน ลูกปิงปอง เทป
      ขั้นตอนการทำกิจกรรม
         1.ให้เด็กเลือกอุปกรณ์เองโดยเอามาต่อกันให้เป็นเหมือนสะพาน เพื่อนำลูกปิงปองมาวางแล้วไหลได้โดยไม่หล่น
         2.ในรอบแรกให้เวลาในการทำ 2 นาที
         3.รอบที่สองให้เวลาทำ 5 นาที


     🍊และกลุ่มที่1 ของเซค102 รูปแบบการสอนEF โดยให้ทำกิจกรรมฉีกกระดาษให้ยาวที่สุดในเวลา 5 นาที


รูปแบบการสอนEF
     🍊E F = ( Executive Function ) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต "ฟังดูน่าสนใจมากโดยอาศัยกระบวนทางปัญญา(cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ( goal - directed behavior) สรุปคือ เป็นความสามารถในการควบคุมความคิดของตนเองนั่นเอง เช่น มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์ และการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน โดย EF มีทั้งหมด 9 ด้าน ดังนี้
         1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
         2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก" อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
         3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว
         4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
         5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
         6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
         7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
         8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
         9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ


    🍊กลุ่มที่2 เซค102 นำเสนอรูปแบบการสอนSTEM 


     🍊และกลุ่มที่3 เซค101 นำเสนอรูปแบบการสอนมอนเตสซอรี่
รูปแบบการสอนมอนเตสซอรี่
     🍊หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็นจากการสังเกตเด็กจึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียนที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน
     🍊ปรัชญาและหลักการสอนมอนเตสซอรี่
          1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือในสภาพที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ เราต้องยอมรับนับถือเด็กในลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ควรจัดการศึกษาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และความต้องการตามธรรมชาติของเขา โดยการพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก
          2. เด็กที่มีจิตซึมซาบได้ มนุษย์เรานี้เป็นผู้ให้การศึกษาแก่ตนเอง และเปรียบจิตของเด็กเหมือนฟองน้ำ ซึ่งจะซึมซาบข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม เด็กใช้จิตในการหาความรู้ ซึมซาบเอาสิ่งต่างๆ เข้าไปในจิตของตนเองได้ ( the absorbent mind ) ในการพัฒนาของจิตที่ซึมซาบได้มีทั้งระดับที่เราทำไปโดยที่รู้สึกตัว และโดยไม่รู้สึกตัว อายุตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซาบโดยไร้ความรู้สึก โดยการพัฒนาประสาทที่ใช้ในการเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กจะซึมซาบทุกสิ่งทุกอย่าง
           3. ช่วงเวลาหลักของชีวิต คือ คือช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด สำหรับการเรียนรู้ในระยะแรกเป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา และเด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้อย่างดี ครูจะต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด
           4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่างมีจุดหมาย การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมเช่นนี้เพื่อให้เด็กได้มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ เด็กจะได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเองบ้าง
           5. การศึกษาด้วยตนเอง เด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเองจากการที่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมไว้อย่างสมบรูณ์ การมีอิสระนี้มอนเตสซอรี่กล่าวว่า ไม่ใช่สัญลักษณ์ของเสรีภาพเท่านั้น แต่หมายถึงเส้นทางไปสู่การศึกษา เด็กมีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ ระเบียบวินัยของชีวิตโดยการมีอิสระภาพในการทำงานด้วยตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง
      🍊การศึกษาด้วยตนเอง ควรจะมีบทบาทมากขึ้นในวงการศึกษา และควรจะเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนเพิ่มขึ้น ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลางในการเรียน
⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻
🍇Evaluate-Self🍇  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
🍇Evaluate-Teacher🍇 ให้คำแนะนำที่ดี เพิ่มเติมความรู้จากการที่นักศึกษานำเสนอ
🍇Evaluate-Friend🍇 ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มาครบทุกคน
🍘🍙🍘🍙🍘🍙🍘🍙🍘🍙🍘🍙🍘🍙🍘🍙🍘🍙🍘

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562

6st learning record
Wednesday 18th September 2019
🐢The Knowledge Gained🐢
    🍧วันนี้ทั้ง 2 เซกเรียนรวมกัน อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอรูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบ ดังนี้



    🍧กลุ่มที่1 เซค101 การสอนรูปแบบไฮสโคป มีทั้งหมด 4 กิจกรรม ดังนี้
          กิจกรรมสีนำ้
          กิจกรรมสีเทียน
          กิจกรรมปั้นแป้งโด
          กิจกรรมงานประดิษฐ์


    🍧และกลุ่มที่1 เซค102 การสอนรูปแบบไฮสโคป มีทั้งหมด 3 กิจกรรม ดังนี้
          กิจกรรมสีเทียน


          กิจกรรมปั้นแป้งโด


          กิจกรรมฉีกปะ


รูปแบบการสอนไฮสโคป (High Scope)
     🍧ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง
แนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) เป็นอย่างไร
     🍧ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
        1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
        2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
        3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
จุดเด่นของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope)
     🍧การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ในเมื่อหลักการของแนวนี้คือให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเอง ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศก็จำเป็นต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ มีการลื่นไหลของกิจกรรม และทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น
         1. พื้นที่ ต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือกระทำ มุมสำคัญที่ควรมี คือ มุมศิลปะ มุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก
         2. วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนและอุปกรณ์ต้องมีมากพอและหลากหลาย เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้พัฒนาแผนการทำงาน และดำเนินการตามแผน
         3. การจัดเก็บ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรการค้นหา-ใช้-เก็บคืน ดังนั้น การจัดวางสิ่งของในห้องเรียนก็ต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วนตนเอง ครูต้องจัดวางอุปกรณ์ให้เด็กสามารถค้นหาได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย เด็กสามารถหยิบมาใช้และเก็บคืนได้เอง กระบวนการทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จัดสังเกต เปรียบเทียบ มีความรับผิดชอบและช่วยเหลือ
ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก
         1. สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโยครูต้องเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
         2. การลงมือทำงานฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
         3. เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย  ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตนสนใจ
     🍧การเรียนแบบ ไฮสโคป (High Scope) ถือเป็นแนวการเรียนการสอนที่น่าสนใจเพราะเน้นในการพัฒนาศักยภาพของเด็กอย่างแท้จริงไฮสโคป เป็นการเรียนที่ไม่จำเป็นต้องเรียนที่โรงเรียนเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่อาจนำแนวทางนี้มาสอนลูกเมื่ออยู่ที่บ้านก็ได้  เพราะการที่เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง  ย่อมสร้างความภาคภูมิใจเมื่อทำสำเร็จ และฝึกให้ลูกเป็นคนกล้าคิดกล้า มีความคิดสร้างสรรค์  เรียนรู้การทำงานอย่างมีระบบ  ขั้นตอน และเรียนรู้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง   จึงขอเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่มาเลี้ยงลูกตามแนว ไฮสโคป (High Scope)


     🍧กลุ่มที่1 เซค101 การสอนรูปแบบโปรเจค  หน่วยช้าง มีขั้นตอนดังนี้


         ขั้นที่1 ถามเด็กในห้องเรียนว่าแต่ละคนต้องการที่จะเรียนรู้เรื่องอะไร หลังจากนั้นช่วยกันโหวตเรื่องที่อยากเรียนมากที่สุด


          ขั้นที่2 ถามคำถามเด็กว่าทำไมถึงอยากเรียนเรื่องนี้และให้เล่าประสบการณ์เดิม


          ขั้นที่3 หลังจากที่เด็กเล่นประสบการณ์เดิมแล้วให้เด็กทำกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียน


          ขั้นที่4 พาเด็กไปนอกสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน และอาจจะเชิญผู้ที่ความรู้ด้านนั้นมาให้ความรู้เด็ก เด็กจะสามารถหาคำตอบในเรื่องที่อยากรู้ได้


          ขั้นที่5 สรุปและจัดโครงการโชว์ผลงานของเด็ก
รูปแบบการสอนโปรเจค (Project Approach)
   🍧หลักการ
        การเรียนการสอนแบบโครงการ  Project  Approach  )  ได้นำแนวคิดของ  John  Dewey  มาประยุกต์เป็นรูปแบบการเรีนยการสอน  โดยมีหลักสำคัญคือ  การพัฒนาเด็กสามารถทำได้ด้วยการให้เด็กเป็นผู้รู้จักแสวงหาความรู้  ความร่วมมือและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  เพื่อค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจ  เด็กสามารถสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ในตัวเด็กเอง
        โครงการการคือ  การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลุ่มลึก  ตามหัวข้อเรื่องที่เด็กสนใจ  เน้นให้เด็กกระทำอาจเป็นรายบุคคลหรือรายุล่มก็ได้  ดครงการนั้นจะต้องประกอิบด้วยทฤษฏีและหหลักการ  มีการดำเนินงานเป็นขั้น  ๆ  โดยใช้วิชาหลาย  ๆ  วิชาที่เกี่ยวข้องมาบรูณาการ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้  ระยะเวลาทำโครงการขึ้นอยู่กับเรื่องที่เด็กสนใจ 
   🍧กระบวนการ
        โครงการถือเป็นการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยความหมาย  เหมาะกับพัฒนาการเด็ก  เป็นการศึกษาอย่างลุ่มลึกในช่วงเวลาที่สามารถได้ตามความสนใจของเด็ก  โดยมีกิจกรรมหลักในการทำโครงการดังนี้
        กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน  เป็นกิจกรรมที่เด็กจะใช้ตั้งแต่เริ่มดครงการจนสิ้นสุดโครงการ  เพื่อแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันแก้ปะญหาด้วยกัน
กิจกรรมทัศนศึกษา  เป็นกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้สัมผัส  รับรู้  สังเกตและมีปฏิสัมพันธ์  จากสิ่งที่ปรากฏด้วยตัวเอง  ณ  สถานที่จริง
        กิจกรรมสืบค้น  เป็นกิจกรรมที่เด็กจะต้องทำการค้นคว้าเพื่อหาข้อความรู้ที่ตนเองต้องการ  อาจมาจากหนังสือ  บุคคล  สถานที่  Internet  ด้วยการอ่าน  สอบถาม  สนทนา  เพื่อให้ได้ข้อมูลลุ่มลึกสามารถนำมาสนับสนุนโครงการให้บรรลุเป้าหมาย
        กิจกรรมนำเสนอผลงาน  ซึ่งอาจนำเสนอโดยการอธิบาย  บรรยายหรือจัดแสดง  เมื่อสิ้นสุดโครงการ  เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากโครงการ
กิจกรรมทั้ง  4  กิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้ในแต่ละระยะของโครงการ  ซึ่งมีอยู่  4  ระยะ  (  บางตำราแบ่งเป็น  3  ระยะ  )
              ระยะที่  1  เริ่มต้นโครงการ  เป็นขั้นตอนที่เด็กและครูร่วมกันอภิปรายเพื่อเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำการสืบค้น  โดยให้หลักเกณฑ์ดังนี้ เป็นหัวข้อที่เด็กทุกคนหรือเด็กส่วนใหญ่ของกลุ่มสนใจ  สัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิตประจำวันของเด็ก เป็นทักษะพื้นฐานของภาษา  คณิตศาสตร์  และสามารถบูรณาการวิทยาศาสตร์และศิลปะเข้าด้วยได้ เป็นเรื่องทีเด็กมีโอกาสร่วมมือกันทำงาน  ลงมือปฏิบัติ  นำมาเล่นสมมติและให้ทักษะต่าง  ๆ  จากการเรียนรู้ได้
              ระยะที่  2  วางแผนโครงการ  เป็นขั้นตอนการกำหนดจุดประสงค์  ขอบเขตเนื้อหาที่ต้องการศึกษา
ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
              ระยะที่  3  ดำเนินการ  เป็นขั้นตอนของการดำเนินโคตรงการตามแผนที่กำหนด   ระยะนี้ถือเป็นหัวใจของโครงการ  ครูจะเป็นผู้จัดหา  จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้เด็กสืบค้น ไม่ว่าจะเป็นของจริง  หนังสือ  วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  หรือแม้แต่การออกไปศึกษานอกสถานที่หรือนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ  วิทยากรท้องถิ่น  เพื่อให้เด็กทำการสืบค้นสังเกตอย่างใกล้ชิดและบันทึกสิ่งที่พบเห็น  อาจมีการเขียนภาพที่เกิดจากการสังเกต  จัดทำกราฟ  แผนภูมิไดอะแกรม  หรือสร้างแบบต่างๆ  สำรวจ  คาดคะเน  มีการอภิปราย เล่นบทบาทสมมติเพื่อแสดงความเข้าใจในความรู้ใหม่ที่ได้
              ระยะที่  4  สรุปผลโครงการ  เป็นระยะสรุปเหตุการณ์  รวมถึงการเตรียมการเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดง  การค้นพบ  และจัดทำสิ่งต่างๆ  สนทนา  เล่นบทบาทสมมติ หรือจัดนำชมสิ่งที่ได้จากการก่อสร้าง  ครูจะจัดให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเรียนรู้กับผู้อื่น  เด็กสามารถช่วยกันเล่าเรื่องการทำโครงการให้ผู้อื่นฟัง  โดยจัดแสดงสิ่งที่เป็นจุดเด่นให้เพื่อนในชั้นเรียนอื่น  ครู  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  และ ผู้บริหารได้เห็น  ครูจะช่วยเด็กเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาแสดง  ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับช่วยให้เด็กทบทวนและประเมินโครงการทั้งหมด  ครูอาจเสนอให้เด็กได้จินตนาการความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านทางศิลปะ ทางละคร  สุดท้ายครูนำความคิดและความสนใจของเด็กไปสู่การสรุปโครงการ และอาจนำไปสู่หัวเรื่องใหม่ของโครงการต่อไป  


     🍧กลุมที่3 เซค101 รูปแบบการสอนStem กิจกรรมเรือบรรทุกสินค้า ดังนี้


         อุปกรณ์
            ดินนำ้มัน  เหรียญ   ถังที่บรรจุนำ้
         ขั้นตอนการทำกิจกรรม
            1.ให้เด็กๆปั้นดินนำ้มันบรรทุกสินค้าที่วางในถังที่บรรจุนำ้แล้วไม่จม รอบแรกให้เวลาทำ 2 นาที
            2.ให้เด็กๆทำเหมือนเดิม แต่เพิ่มเวลาเป็น 5 นาที


รูปแบบการสอนSTEM
     🍧คำว่า สะเต็มหรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่
             วิทยาศาสตร์ (Science)
             เทคโนโลยี (Technology) 
             วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)
             คณิตศาสตร์ (Mathematics) 
     🍧หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้ ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า STEM มีผลให้มีการใช้และให้ความหมายของคำนี้แตกต่างกันไป เช่น มีการใช้คำว่า STEM  ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
     🍧สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
     🍧การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  ประการได้แก่ (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ  (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน  และ (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา  จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน   
⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻
🐢Evaluate-Self🐢  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตั้งใจฟัง
🐢Evaluate-Teacher🐢 ให้คำแนะนำที่ดี
🐢Evaluate-Friend🐢  ร่วมกันทำกิจกรรมอย่างเต็มใจ
🐛🐜🐛🐜🐛🐜🐛🐜🐛🐜🐛🐜🐛🐜🐛🐜🐛🐜