วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

14st learning record
Thursday 28th November 2019
🚩The Knowledge Gained🚩
    🚀วันนี้อาจารยืให้นักศึกษาออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ต่อจากครั้งที่แล้ว ดังนี้


            นางสาวเพ็บประภา บุญมา
            หน่วย สัปปะรด
                      ขั้นนำ ใช้เทคนิคปริศนาคำทาย
                      ขั้นสอน ให้เด็กสังเกต ส่วนประกอบของสัปปะรดและนำบัตรคำไปติดให้ตรงรูปภาพ


           นางสาวอรอุมา ศรีท้วม
           หน่วย ครอบครัว 
                     ขั้นนำ ใช้เทคนิคร้องเพลงบ้านของฉัน
                     ขั้นสอน ให้เด็กออกมาติดบัตรภาพสมาชิกในครองครับและติดบัตรภาพหน้าที่ที่เด็ฏเคยทำในบ้าน


            นางสาวชนิศา  หุ่นหั่น
            หน่วย  อาชีพ
                     ขั้นนำ ใช้เทคนิคร้องเพลง
                     ขั้นสอน ให้เด็กออกมาหยิบภาพแล้วใช้คำถาม

     

           นางสาวธิดาพร สึกชัย
           หน่วย สัตว์
                     ขั้นนำ ใช้เทคนิคการเล่านิทาน เรื่องเทคสิคของป๋องแป๋ง
                     ขั้นสอน ให้เด็กแยกประเภทสัวต์เลี้ยงกัยสัตว์ป่า


          นางสาววรรณภา ผังดี
          หน่วย วันสงกราน
                     ขั้นนำ ใช้เทคนิคคำคล้องจอง วันสงกราน
                     ขั้นสอน ให้เด็กแยกพฤติกรรมที่ควรทำกับไม่ควรทำ


          นางสาวจีรนันท์ ไชยชาย
          หน่วย ยานพาหนะ
                    ขั้นนำ ให้เด็กออกมาติดรูปยานพาหนะ และพูดคุย
                    ขั้นสอน ให้เด็กนำรูปยานพาหนะมาติดเพื่อแยกประเภทการคมนาคม


          นางสาวจุฬารัตน์ เปี่ยมวารี
          หน่วย วันลอยกระทง
                     ขั้นนำ ให้เด็กร้องเพลง วันลอยกระทง
                     ขั้นสอน ให้เด็กแยกพฤติกรรมที่ควรทำกับไม่ควรทำ


         นายปฎิพาณ จินดาดวง
         หน่วย ครอบครัว
                    ขั้นนำ ใช้เทคนิคร้องเพลง บ้านของฉัน
                    ขั้นสอน ให้เด็กออกมาติดรูปแผนผังครอบครัว


         นางสาวปิยธิดา ประเสริฐสังข์
         หน่วย บ้านแสนรัก
                    ขั้นนำ ใช้เทคนิคการร้องเพลง
                    ขั้นสอน นำภาพแต่ละห้องมาคุยกับเด็ก และให้เด็กนำภาพของใช้แต่ละห้องมาติด


         นางสาวทิพยวิมล นวลอ่อน
         หน่วย ข้าว
                   ขั้นนำ ใช้เทคนิคคำคล้องจอง
                   ขั้นสอน ให้เด็กสังเกตข้าวแต่ละชนิด และเปรียบเทียบชนิดของข้าว


        นางสาวสุพรรษา มีอุสา
        หน่วย ฝน
                   ขั้นนำ ใช้เทคนิคการร้องเพลง
                   ขั้นสอน ให้เด็กแยกข้องที่ควรปฎิบัติกับข้อควรระวัง


       นางสาวพิมพ์สุดา จันทพา
       หน่วย กล้วย
                    ขั้นนำ ใช้เทคนิคร้องเพลง กล้วย
                    ขั้นสอน ให้เด็กสังเกตกล้วย และแยกชนิดของกล้วย


       นางสาวอริสา กุณารบ
       หน่วย ธรรมชาติรอบตัว
                   ขั้นนำ ใช้เทคนิคการเล่านิทาน
                   ขั้นสอน ให้เด็กแยก สิ่งมีชีวิตกับไม่มีชีวิต
⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻
🚩Evaluate-Self🚩  ตั้งใจฟังเพื่อนๆสอนและช่วยเพื่อนแก้ปัญหา
🚩Evaluate-Teacher🚩  ให้คำแนะนำในการสอนที่ดี
🚩Evaluate-Friend🚩  มีการเตรียมความพร้อมในการสอนมาดี
⛲⛳⛲⛳⛲⛳⛲⛳⛲⛳⛲⛳⛲⛳⛲⛳⛲⛳⛲⛳⛲
13st learning record
Monday 25th November 2019
⚾The Knowledge Gained⚾
   🎧วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วยใดก็ได้ โดยบอกให้เตรียมตัวตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว และมีการเขียนแผนการสอนเสริมประสบการณ์ส่ง ดังนี้


        นางสาวปริชดา นิราศรพจรัส 
        หน่วย อาหารดีมีประโยชน์
                ขั้นนำ ใช้เทคนิคปริศนาคำถาม
                ขั้นสอน ให้เด็กออกมาแยกอาหารที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์


        นางสาวปวีณา พันธ์กุล
        หน่วย Color 
                ขั้นนำ ใช้เทคนิคร้องเพลง Color และให้เด็กดูสีภายในห้องและเขียน
                ขั้นสอน ให้เด็กออกมาจับคู่บัตรคำภาพกับสี


        นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา
        หน่วย ร่างกายของฉัน
                ขั้นนำ ใช้เทคนิคร้องเพลง ตา หู จมูก
                ขั้นสอน ให้เด็กออกมาติดบัตรคำส่วนประกอบของร่างกายให้ตรงกับภาพ


        นางสาวรุ่งฤดี โสดา
        หน่วย กลางวันกลางคืน
                 ขั้นนำ ใช้เทคนิคร้องเพลงกลางวันกลางคืน
                 ขั้นสอน ให้เด็กออกมาส่องไฟฉายในกล่องดูว่าเวลากลางวันจะมองเห็น และเวลาตอนกลางคืนจะมองไม่เห็น


       นางสาวณัฐธิดา ธรรมแท้
       หน่วย อาหารหลัก 5 หมู่
                  ขั้นนำ ใช้เทคนิคคำคล้องจอง 
                  ขั้นสอน ให้ความรู้เด็ฏว่าแต่ละหมู่มีอะไรบ้าง และลองให้เด็กบอกพร้อมกับเขียน



        นางสาววัชรา ค้าสุกร
        หน่วย ของเล่นของใช้
                   ขั้นนำ ใช้เทคนิคร้องเพลง เล่นแล้วเก็บ
                   ขั้นสอน ให้เด็กออกมาติดบัตรคำแยกประเททของเล่นของใช้


        นางสาวสุพรทิพย์ ดำขำ
        หน่วย รูปร่างรูปทรง
                   ขั้นนำ ใช้เทคนิคร้องเพลง รูปร่างรูปทรง
                   ขั้นสอน ให้เด็กออกมาติดบัตรภาพ รูปร่างรูปทรง


       นางสาวอินทิรา หมึกสี
       หน่วย ผลไม้
                   ขั้นนำ ใช้เทคนิคคำคล้องจอง ผลไม้
                   ขั้นสอน ให้เด็กๆลองชิมส้มกับองุ่น ให้วิธีการสังเกต จับ และลิ้มรส เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ


        นางสาวอรอุมา ศรีท้วม
        หน่วย ครอบครัว
                   ขั้นนำ ใช้เทคนิคร้องเพลง บ้านของฉัน
                   ขั้นสอน ถามเด็กสมาชิกในครอบครัวมีใครบ้างแล้วเขียน โดนแก้ไข


        นางสาวณัฐชา บุญทอง
        หน่วย สัตว์โลกน่ารัก
                    ขั้นนำ ใช้เทคนิคคำคล้องจอง
                    ขั้นสอน ถามเด็กว่า สัตว์บกคืออะไร และให้เด็กออกมาติดบัตรภาพว่าสัตว์ตัวไหนเป็นสัตว์บก


        นางสาวสุจินณา พาพันธ์
        หน่วย วันปีใหม่
                      ขั้นนำ ใช้เทคนิคคำคล้อง วันปีใหม่
                      ขั้นสอน ให้เด็กจับคู่ภาพบัตรคำ
⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻
⚾Evaluate-Self⚾  เตรียมสื่อการสอนมา พร้อมที่จะสอน
⚾Evaluate-Teacher⚾ ให้คำแนะนำเพิ่มเติมที่ดี
⚾Evaluate-Friend⚾ เตรียมความในการสอนมาดี
🏀🏉🏀🏉🏀🏉🏀🏉🏀🏉🏀🏉🏀🏉🏀🏉🏀🏉🏀🏉🏀🏉🏀

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

12st learning record
Monday 18th November 2019
🔥The Knowledge Gained🔥


   🌈วันนี้เป็นวันแรกที่ได้เรียนตึกใหม่ อาจารย์สอนเรื่อง Active Learning
Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ และได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้สมมติฐาน 2 ประการ คือ
        1. การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
        2. แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน


         1. กระบวนการเรียนรู้ Passive Learning

             • กระบวนการเรียนรู้โดยการอ่านท่องจำผู้เรียนจะจำได้ในสิ่งที่เรียนได้เพียง 10%
             • การเรียนรู้โดยการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมอื่นในขณะที่อาจารย์สอนเมื่อเวลาผ่านไปผู้เรียนจะจำได้เพียง 20%
             • หากในการเรียนการสอนผู้เรียนมีโอกาสได้เห็นภาพประกอบด้วยก็จะทำให้ผลการเรียนรู้คงอยู่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30%
             • กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น เช่น การให้ดูภาพยนตร์ การสาธิต จัดนิทรรศการให้ผู้เรียนได้ดู รวมทั้งการนำผู้เรียนไปทัศนศึกษา หรือดูงาน ก็ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น 50%
         2. กระบวนการเรียนรู้ Active Learning
             • การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70%
             • การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%
หลักการโปรแกรมไฮสโคป
    🌈เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)
    🌈หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Hohmann and Weikart,1995) ทั้งนี้ องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ได้แก่
          1. การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง เด็กเป็นผู้เลือกวัสดุอุปกรณ์และตัดสินใจว่าจะใช้วัสดุอุปกรณ์นั้นอย่างไร การที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ใหญ่ ดังนั้น ผู้ใหญ่ที่ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการเลือกและการตัดสินใจต้องจัดให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกได้ตลอดทั้งวันขณะที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ใช่เฉพาะในช่วงเวลาเล่นเสรีเท่านั้น
          2. สื่อ ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลาเพียงพอที่จะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ เมื่อเด็กใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เด็กจะมีโอกาสเชื่อมโยงการกระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาสในการแก้ปัญหามากขึ้นด้วย
          3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กได้สำรวจและจัดกระทำกับวัตถุโดยตรงทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุ แล้วเด็กจะนำวัตถุต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องกันและเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ ผู้ใหญ่มีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์เหล่านี้ด้วยตนเอง
          4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทําเด็กมักจะเล่าว่าตนกําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วในแต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความคิดและรู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เด็กจะเรียนรู้วิธีการพูดที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ได้พัฒนาการคิดควบคู่ไปกับการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองด้วย
          5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทําต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหาความตั้งใจ ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรรับฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กคิดและ ทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทํา เด็กจะเผชิญกับประสบการณ์สําคัญซํ้าแล้วซํ้าอีกในชีวิตประจําวันอย่างเป็นธรรมชาติ ประสบการณ์สําคัญเป็นกุญแจที่จําเป็นในการสร้างองค์ความรู้ของเด็กเป็นเสมือนกรอบความคิดที่จะทําความเข้าใจการเรียนรู้แบบลงมือกระทําเราสามารถให้คําจํากัดความได้ว่า ประสบการณ์สําคัญเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เด็กจะต้องหามาให้ได้โดยการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิดและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย ประสบการณ์สำคัญเป็นกรอบความคิดให้กับผู้ใหญ่ในการเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก สามารถวางแผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม


EF สำคัญอย่างไร
   🌈ฐานของทักษะEF ที่แข็งแกร่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการรู้จักตัวเลขหรือตัวหนังสือ เมื่อเด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF ทั้งตัวเด็กเองและสังคมได้รับประโยชน์ จะช่วยสร้างพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง และครอบครัว หากเด็กมีทักษะ EFs เขาจะมีความสามารถในการคิด
        🌏มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนเสร็จ
        🌏รู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้ และจัดการกับกระบวนการทำงาน จนเสร็จทันตามกำหนด
        🌏นำสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อนในประสบการณ์มาใช้ในการทำงานหรือกิจกรรมใหม่ได้
        🌏สามารถปรับเปลี่ยนความคิดได้ เมื่อเงื่อนไขหรือสถานการณ์เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดตายตัว จนถึงขั้นมีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบได้
        🌏รู้จักประเมินตนเอง นำจุดบกพร่องมาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นได้
        🌏รู้จักยับยั้งควบคุมตนเองไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมแม้จะมีสิ่งยั่วยวน
        🌏รู้จักแสดงออกในครอบครัวในห้องเรียน กับเพื่อน หรือในสังคมอย่างเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การรู้จักเคารพผู้อื่น อยู่กับคนอื่นได้ดี ไม่มีปัญหา
        🌏เป็นคนที่อดทนได้ รอคอยเป็น มีความมุ่งมั่นพร้อมความรับผิดชอบที่จะไปสู่ความสำเร็จ
 ⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻
🔥Evaluate-Self🔥  ตั้งใจเรียน แะจดบันทึก
🔥Evaluate-Teacher🔥 อธิบายและยกตัวอย่างชัดเจน
🔥Evaluate-Friend🔥  ช่วยกันตอบคำถามและสืบค้น
💿📀💿📀💿📀💿📀💿📀💿📀💿📀💿📀💿📀💿📀💿

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

11st learning record
Monday 11th  November 2019
🏀The Knowledge Gained🏀


  🎨วันนี้อาจารย์ได้อธิบายวิธีการสอนที่ถูกต้อง ดังนี้
  🎨การสอนวิทยาศาสตร์ สอนเรื่องง่ายๆรอบตัวก่อน เช่น  ควันรถ ทำให้เกืดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าหากอยากให้เด็กเห็นภาพชัดมากขึ้น จะต้องทำสื่อ วัสดุอุปกรณ์ให้เด็กเห็น ทำให้เป็นรูปธรรม
  🎨การทำงานของสมอง รับรู้ (Acknowledge) ซึมซับ (Adsord) มากๆทำให้เกิดการทับซ้อน การปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่
ทักษะ EF ประกอบด้วย 9 ทักษะ
1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน
2.Inhibitory Control การยั้งคิด
3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด
4.Focus Attention การใส่ใจจดจ่อ
5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์
6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง
8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด
9.Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย 
  🎨การเขียนแผนให้นำพัฒนาการมาเขียนแผน (สภาพที่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ แนวคิดหลัก) 
  🎨การเร่งเด็ก ทำให้ไปปิดกั้นจินตนาการของเด็ก ควรเปิดโอกาสให้เด็กใช้จินตนาการได้เต็มที่ ศิลปะสามารถเชื่อมโยงกับการเล่นเสรี
  🎨การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน จะต้องกระตุ้นส่งเสริมไม่แทรกแซง โดยแบ่งมุมเป็น 5 ส่วนดังนี้
1.มุมโต๊ะครู
2.มุมเก็บของเด็ก
3.มุมการจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่
4.มุมการจัดกิจกรรมกลุ่มย่อย
5.มุมประสบการณ์ต่างๆ


   🎨หลังจากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมเต้นประกอบเพลง เริ่มจากทำกิจกรรมเป็นกลุ่มใหญ่ เปิดเพลงและให้นักศึกษานึกท่าเต้นเองอย่างอิสระ


   🎨และหลังจากนั้นให้นักศึกษาแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม โดยส่งตัวแทนออกมานำเต้น และเพื่อนๆเต้นตาม


   🎨ในการทำกิจกรรมนี้ ทำให้เด็กได้ฟังเพลงและใส่ท่าทางโดยกลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ นำไปสู้กระบวนการ PDR ดังนี้
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻⸻
🏀Evaluate-Self🏀  ตั้งใจฟัง ร่วมทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ
🏀Evaluate-Teacher🏀 เป็นกันเอง อธิบายเพิ่มเติมได้ชัดเจน
🏀Evaluate-Friend🏀 สนุกกับกิจกรรม ให้ความร่วมมือ
⏰⌛⌚⌛⏰⌛⏰⌛⏰⌛⏰⌛⏰⌛⏰⌛⏰⌛⏰⌛⏰